ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่จะมีส่วนประกอบของสารกันเสียและสารฆ่าเชื้อเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นและคงประสิทธิภาพได้ดี ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะสับสนหรือเข้าใจว่าสารกันเสียกับสารฆ่าเชื้อเพราะคิดว่าทำหน้าที่คล้ายๆกันหรือคือสารตัวเดียวกัน

โดยที่จริงแล้วสารกันเสียและสารฆ่าเชื้อไม่ได้ทำหน้าที่เหมือนคล้ายหรือเหมือนกัน

  • สารกันเสีย(Preservative, Biocide)

สารกันเสีย มีหน้าที่คือเพื่อรักษาอายุ หรือคงสภาพของผลิตภัณฑ์ โดยสาเหตุมาจากเชื้อจุลินทรีย์ที่จะทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นเน่าเสีย สารกันเสียจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เกิดหรือเจริญเติบโตตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีสารกันเสียอยู่ในผลิตภัณฑ์มากมาย เช่น น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอางจนกระทั่งอาหารที่เรารับประทาน สำหรับสารกันเสียที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ CIMT/MIT, Phenoxyethanol, Sodium benzoate, Potassium sorbate เป็นต้น

  • สารฆ่าเชื้อ(Disinfectant)

สารฆ่าเชื้อ มีหน้าที่ที่เฉพาะเจาะจงนั่นก็คือ การทำลายจุลินทรีย์หรือเชื้อให้หมดไปด้วยตัวสารฆ่าเชื้อที่ใช้นั่นเอง โดยปัจจุบันสารฆ่าเชื้อเป็นที่นิยมมากเพราะสามารถกำจัดได้ทั้ง แบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัส สินค้าที่เป็นสารฆ่าเชื้อตามท้องตลาดทั่วไปจะเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ที่มีเฉพาะสารฆ่าเชื้ออย่างเดียวหรือผสมกับน้ำยาทำความสะอาดเพื่อสามารถใช้ได้ทั้งทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคไปในตัว สารฆ่าเชื้อที่นิยมใช้ทั่วไปเช่น Benzalkonium chloride, IPMP, Triclosan เป็นต้น

จากข้อมูลแสดงให้เห็นความแตกต่างในหน้าที่ของแต่ละสารแล้ว ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานที่จะเลือกหยิบมาใช้ให้เหมาะสมและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นหลัก